ที่มา :https://www.youtube.com/watch?v=WymSaPAU-Dc
กู๊ด (Good,1973:157) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา
(Dictionary of Education) ว่า หลักสูตรคือ
กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรใบสาขาวิชาหลักต่างๆ
เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา
กู๊ด (Good,1973:157) ได้ให้ความหมายของคำศัพท์ไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษา
(Dictionary of Education) ว่า หลักสูตรคือ
กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบหรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรใบสาขาวิชาหลักต่างๆ
เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา
บ๊อบบิท (Bobbit,1918:42)ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักสูตร คือรายการของสิ่งต่างๆ ที่เด็กและเยาวชน
ต้องทำและมีประสบการณ์ ด้วยวิธีการพัฒนาความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวให้ดี
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในวัยผู้ใหญ่ได้
นักลีย์และอีแวนส์ (Neagley and
Evans,1967:2) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า คือ
ประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดเพื่อช่วยให้นักเรียนได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามความสามารถของนักเรียน
โอลิวา (Oliva,1982:10)
กล่าวว่า หลักสูตรคือ
แผนหรือโปรแกรมสำหรับประสบการณ์ทั้งหลายที่ผู้เรียนจะต้องประสบปัญหาภายใต้การอำนวยการของโรงเรียน
วีลเลอร์ (Wheenler,1974:11)
ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า
มวลประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งโรงเรียนหรือสถานการศึกษาจัดให้แก่ผู้เรียน
โครว์ (Crow,1980:250)
ได้ให้ความหมายของหลักสูตรคล้ายกับของวิลเลอร์ เขากล่าวว่า
หลักสูตรเป็นประสบการณ์ที่นักเรียนได้รับทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อนักเรียนมีการพัฒนาด้านร่างกาย
สังคม ปัญญา และจิตใจ
แคสเวนและแคมป์เบลล์
(Caswell &Campbell,1935:69) ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับหลักสูตรในหนังสือ Curriculum
Development ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1935 โดยให้ความหมายของหลักสูตรในโรงเรียนว่า
“หลักสูตรประกอบด้วยประสบการณ์ทุกอย่างที่จัดให้แก่เด็กโดยอยู่ในความดูแลการสอนของครู”
แคสเวนและแคมป์เบลล์ไม่ได้มองหลักสูตรว่าเป็นกลุ่มของรายวิชาแต่หมายถึง
“ประสบการณ์ทุกชนิดที่เด็กมีภายใต้การแนะนำของครู”
เซย์เลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor&Alexander,1974:6)ได้กล่าวถึงความหมายของหลักสูตรว่า
“เป็นแผนสำหรับจัดโอกาสการเรียนรู้ให้แก่บุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เพื่อบรรลุเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้โรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ”
ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของทาบา (Taba,1962:10) ที่กล่าวไว้ว่า “หลักสูตรคือ แผนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยจุดประสงค์และจุดมุ่งหมายเฉพาะการเลือกและการจัดเนื้อหา
วิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล”
เชฟเวอร์และเบอร์เลค
(Shaver and berlak,1968:9) กล่าวว่า หลักสูตร คือ
กิจกรรมที่ครูจัดให้นักเรียนได้เล่นเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้
ทรัมพ์และมิลเลอร์ (Trump and
Miller,1973:11-12) กล่าวว่า หลักสูตรคือกิจกรรมการเรียนการสอนชนิดต่างๆ
ที่เตรียมการไว้และจัดให้แก่เด็กนักเรียนหรือระบบโรงเรียน
นักการศึกษาของไทยหลายท่านได้แสดงความคิดเห็น
และความหมายของคำว่าหลักสูตรไว้หลายประการเช่น
สุมิตร คุณานุกร (2520,2-3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ในสองระดับ
คือหลักสูตรในระดับชาติและหลักสูตรในระดับโรงเรียน หลักสูตรระดับชาติหมายถึง
“โครงการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะ
สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดไว้”
ส่วนหลักสูตรในระดับโรงเรียนหมายถึง
“โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียน
ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกโรงเรียนก็ตาม
เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้”
ธำรง บัวศรี (2532:6) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรว่า
คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อได้แสดงถึงจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาสาระ
กิจกรรม และประมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา
เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่างๆตามจุดหมายที่ได้กำหนดไว้
เอกวิทย์ ณ ถลาง (2521:108) เขียนในบทความเรื่อง
“ข้อคิดเรื่องหลักสูตร” ได้ให้ความหมายว่า หลักสูตร หมายถึง
มวลประสบการณ์ทั้งหลายที่จัดให้เด็กได้เรียน เนื้อหาวิชาและทัศนคติ แบบพฤติกรรม
กิจวัตร สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
เมื่อประมวลเข้ากันแล้วก็เป็นประสบการณ์ที่ผ่านเข้าไปในการรับรู้ของเด็กถือว่าเป็นหลักสูตรทั้งสิ้น
จากความหมายของหลักสูตรในลักษณะต่างๆ
ที่ได้ยกตัวอย่างของระดับความคิดของ
นักการศึกษาทั้งชาวต่างประเทศและชาวไทย
สามารถนำมาสรุปแนวความคิดเกี่ยวกับความหมายของหลักสูตรเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ดังนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น